นกเมื่อร้อยล้านปีก่อนมีฟันคมคล้ายใบเลื่อย
พบฟอสซิลนกในจีนที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 125 ล้านปีก่อน มีร่องรอยฟันเรียงกันอย่างน่าประหลาด นักวิทยาศาสตร์คาดนกโบราณดังกล่าวใช้ฟันเพื่อขบกัดเปลือกแข็งๆ ของแมลงและหอยทาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เผยถึงลักษณะอาหารที่นกในยุคแรกๆ ของโลกกินระหว่างยุคไดโนเสาร์
บีบีซีนิวส์ระบุถึงฟอสซิลนกโบราณที่ไม่ธรรมดาซึ่งมีรายงานลงวารสารเจอร์นัลออฟเวอร์ทีเบรตพาเลนโทโลจี (Journal of Vertebrate Paleontology) ฉบับเดือน ม.ค.ว่า ฟอสซิลดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และบางส่วนของกระเพาะอาหารก็ยังคงอยู่
“ฟันพวกนั้นประหลาดมาและยังมีชิ้นส่วนของกระเพาะเหลืออีกซึ่งไม่ธรรมดาแน่ มันเป็นหลักฐานเพิ่มเติมของลักษณะเฉพาะและขอบข่ายความจำเพาะเชิงนิเวศ ซึ่งเห็นได้เฉพาะในนกของมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic)” กาเรธ ไดค์ (Gareth Dyke) นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน (University of South Hampton) สหราชอาณาจักร ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ให้ความเห็น
สำหรับตัวอย่างของนกซึ่งจัดเป็นสปีชีส์ใหม่นี้ถูกขุดพบเมื่อประมาณ 15 ปีก่อนในมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning) ของจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีฟอสซิลจากยุคครีเตเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาเมื่อ 145-65 ล้านปีก่อนและเป็นยุคสุดท้ายของมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era)
ลูอิส เชียปป์ (Luis Chiappe) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาลอสแองเจลลิส (Natural History Museum of Los Angeles) สหรัฐฯ และหัวหน้าทีมในการนำเสนอรายงานเรื่องนี้ กล่าวว่าป่าในยุคแรกๆ นั้นมีสิ่งมีชีวิตโบราณอยู่หน้าแน่น ตั้งแต่ไดโนเสาร์มีปีกอย่างตัวเทอโรแดคทิล (pterodactyl) ไดโนเสาร์อย่างไมโครแรพเตอร์ และสัตว์เลื้อยคลานในยุคต้นๆ รวมถึงต้นไม้หลากหลายชนิด และท้องฟ้าในยุคนั้นก็เต็มไปด้วยนก ซึ่งแสดงถึงการเป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพของนกอย่างชัดเจน
นกที่เพิ่งค้นพบนี้เป็นนกขนาดเล็กที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “ซัลคาวิสจีโอรัม” (Sulcavis geeorum) ซึ่งเคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 121-125 ล้านปีก่อน และจัดอยู่กลุ่มนกมีฟันที่สูญพันธุ์ไปแล้วที่เรียกว่า “อีแนนทิออร์นไธนส์” (Enantiornithines) และเป็นกลุ่มที่มีนกจำนวนมากที่สุดในยุคไดโนเสาร์ และในบางมุมนกขนาดเล็กนี้ก็คล้ายกับนกตัวเล็กๆ ที่มีเสียงร้องอันไพเราะในปัจจุบัน แต่มีสิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือลักษณะฟันที่แปลกประหลาด
ฟันของนกน้อยดึกดำบรรพ์นี้ทั้งแหลมและคม ซึ่งฟอสซิลที่ทีมของเชียปป์พบนั้นมีฟันที่สารเคลือบถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี และมีลักษณะฟันที่เรียงกันเป็นใบเลื่อย โดยลักษณะฟันดังกล่าวเชียปป์สันนิษฐานว่า น่าจะช่วยให้นกขบเปลือกแข็งภายนอกของแมลง ปูหรือหอยทากให้แตกได้ และฟันแปลกๆ อาจให้คำตอบถึงปริศนาของยุคก่อนประประวัติศาสตร์ว่า เกี่ยวกับเหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมนกในยุคแรกๆ จึงต้องมีฟัน และยังไม่แน่ชัดว่าทำไมฟันของนกจึงหายไป ซึ่งนับแต่ครั้งแรกที่มีการขุดพบฟอสซิลนกก็พบว่าฟันของนกหายไปแล้วอย่างน้อย 4 ครั้งในประวัติศาสตร์ฟอสซิล ส่วนนกในปัจจุบันก็ยังคงมียีนสร้างฟันอยู่ แต่ยีนเหล่านั้นถูกปิดการทำงานไป
ภาพวาดจินตนาการลักษณะของนกในยุคครีเตเชียส ซึ่งมีฟันไปขบกัดเปลือกแข็งๆ ของเหยื่อให้แตก
(ไลฟ์ไซน์/Stephanie Abramowicz)
|
บีบีซีนิวส์ระบุถึงฟอสซิลนกโบราณที่ไม่ธรรมดาซึ่งมีรายงานลงวารสารเจอร์นัลออฟเวอร์ทีเบรตพาเลนโทโลจี (Journal of Vertebrate Paleontology) ฉบับเดือน ม.ค.ว่า ฟอสซิลดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และบางส่วนของกระเพาะอาหารก็ยังคงอยู่
ฟอสซิลของนกที่ขุดพบในจีนยังแสดงลักษณะของฟันที่สารเคลือบยังคงถูกรักษาไว้อย่างดี (ไลฟ์ไซน์/Stephanie Abramowicz) |
สำหรับตัวอย่างของนกซึ่งจัดเป็นสปีชีส์ใหม่นี้ถูกขุดพบเมื่อประมาณ 15 ปีก่อนในมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning) ของจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีฟอสซิลจากยุคครีเตเชียส (Cretaceous Period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาเมื่อ 145-65 ล้านปีก่อนและเป็นยุคสุดท้ายของมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era)
ลูอิส เชียปป์ (Luis Chiappe) ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาลอสแองเจลลิส (Natural History Museum of Los Angeles) สหรัฐฯ และหัวหน้าทีมในการนำเสนอรายงานเรื่องนี้ กล่าวว่าป่าในยุคแรกๆ นั้นมีสิ่งมีชีวิตโบราณอยู่หน้าแน่น ตั้งแต่ไดโนเสาร์มีปีกอย่างตัวเทอโรแดคทิล (pterodactyl) ไดโนเสาร์อย่างไมโครแรพเตอร์ และสัตว์เลื้อยคลานในยุคต้นๆ รวมถึงต้นไม้หลากหลายชนิด และท้องฟ้าในยุคนั้นก็เต็มไปด้วยนก ซึ่งแสดงถึงการเป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพของนกอย่างชัดเจน
ฟอสซิลของนกที่ถูกเก็บไว้อย่างดี และบางส่วนของกระเพาะก็ยังคงอยู่ (ไลฟ์ไซน์/Stephanie Abramowicz) |
ฟันของนกน้อยดึกดำบรรพ์นี้ทั้งแหลมและคม ซึ่งฟอสซิลที่ทีมของเชียปป์พบนั้นมีฟันที่สารเคลือบถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี และมีลักษณะฟันที่เรียงกันเป็นใบเลื่อย โดยลักษณะฟันดังกล่าวเชียปป์สันนิษฐานว่า น่าจะช่วยให้นกขบเปลือกแข็งภายนอกของแมลง ปูหรือหอยทากให้แตกได้ และฟันแปลกๆ อาจให้คำตอบถึงปริศนาของยุคก่อนประประวัติศาสตร์ว่า เกี่ยวกับเหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมนกในยุคแรกๆ จึงต้องมีฟัน และยังไม่แน่ชัดว่าทำไมฟันของนกจึงหายไป ซึ่งนับแต่ครั้งแรกที่มีการขุดพบฟอสซิลนกก็พบว่าฟันของนกหายไปแล้วอย่างน้อย 4 ครั้งในประวัติศาสตร์ฟอสซิล ส่วนนกในปัจจุบันก็ยังคงมียีนสร้างฟันอยู่ แต่ยีนเหล่านั้นถูกปิดการทำงานไป