ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นกเอี้ยงหงอน

นกเอี้ยงหงอน
ชื่อท้องถิ่น: นกเอี้ยงหงอน
ชื่อวงศ์: -ประเภทสัตว์: สัตว์ปีก
ลักษณะสัตว์: นกเอี้ยงหงอน

นก งหงอน Acridortheres javanicus (White-vented Myna) เป็นนกเอี้ยงที่พบได้บ่อยมากๆ มากพอๆกับนกเอี้ยงสาริกา ต่างกันที่นกเอี้ยงหงอนไม่มีการกระจายพันธุ์บริเวณภาคใต้ของไทย ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป ขณะที่นกเอี้ยงสาริกาเป็นนกที่หาดูได้ง่ายมากๆในทุกภาคของประเทศไทย

นก เอี้ยงหงอนมีจุดเด่นคือมีขนคลุมลำตัวสีดำสนิท และมีขนหงอนยาวบริเวณหน้าผากโดยขนหงอนนี้จะตั้งขึ้นดูเท่มากๆ มีปากแหลมยาวพอประมาณสีเหลืองถึงส้มสดเช่นเดียวกับขาและเท้าซึ่งยาวแข็งแรง เล็บเท้าสีดำ มีแถบสีขาวที่โคนขนปลายปีกทำให้ดูเป็นแถบสีขาวตัดกับสีดำสะดุดตา ขนคลุมโคนหางและขนปลายหางก็มีสีขาว ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน

เรา สามารถพบนกเอี้ยงหงอนได้ทั้งในทุ่งโล่ง ทุ่งนา และในเมือง บริเวณที่ราบจนถึงความสูง 1,525 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ส่วนใหญ่จะพบในที่ราบ อาหารของนกชนิดนี้มีหลากหลายมาก ตั้งแต่แมลง ไส้เดือน เมล็ดข้าว น้ำหวานจากดอกไม้ และผลไม้สุก โดยจะพบเค้าเดินๆวิ่งๆหาไส้เดือน แมลง หรือเมล็ดพืชกินบนพื้น เกาะหลังควายกินแมลง กินผลไม้สุกคาต้นอย่างเช่นต้นมะละกอ และกินแมลงและน้ำหวานอยู่บนต้นไม้ที่ออกดอกสะพรั่ง
นกเอี้ยงหงอนจะ จับคู่ทำรังวางไข่ตั้งแต่ราวเดือนเมษายน – กรกฎาคม โดยสถานที่ที่ใช้ทำรังขึ้นอยู่กับว่านกอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน ถ้าอยู่ตามทุ่งหรือสวนสาธารณะก็อาจทำรังตามโพรงไม้ ถ้าอยู่ในเมืองก็อาจทำรังตามรอยแตกของผนังกำแพง ซอกตามชายคา เสาไฟฟ้า “รังทำจากฟาง หญ้าเส้นยาว หรือวัสดุ หลายอย่างประกอบกัน รองรังด้วยวัสดุอ่อนนุ่ม เช่นขนนก ปุยนุ่น หรือแม้แต่กระดาษหรือเศษฟางพลาสติกเก่าๆ วางไข่ ครั้งละ 4 - 7 ฟอง เปลือกไข่สีฟ้าอ่อน หรือฟ้าอมเขียว เกลี้ยงๆไม่มีจุดประหรือขีดใดๆ ใช้เวลากกไข่ราว 14 วัน ลูกนกต้องอยู่ ในรังอีก ราว 21 วัน จึงจะออกจากรัง ”

นก ชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์อย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในเวียตนามเป็นนกที่หายาก และเป็นนกที่ถูกนำเข้าไปในสิงคโปร์และหลุดจากกรงไปอยู่ในธรรมชาติ ไม่ใช่นกดั้งเดิม

นกเอี้ยงหงอนเลียนเสียงได้ไม่เก่งอย่างนกขุนทอง จึงไม่ถูกจับมาเลี้ยงอย่างนกขุนทองซึ่งเป็นนกหายากในธรรมชาติไปแล้ว

นก เอี้ยงหงอนที่ถ่ายภาพมานี้อาศัยอยู่ในพุทธมณฑลเป็นจำนวนมาก เช่นเดียวกับนกเอี้ยงสาริกา แต่มีจำนวนน้อยกว่าเล็กน้อย ในช่วงเวลากลางวันที่อากาศร้อนๆ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรดน้ำต้นไม้มารดน้ำจนมีน้ำเจิ่งนองขังอยู่บน ถนนหรือพื้นดิน บรรดานกขี้ร้อนทั้งหลายก็จะมาอาบน้ำกันเป็นประจำ แต่ไม่ได้อาบรวมกัน โดยบางทีก็จะเห็นอีกามารวมตัวกันกินและเล่นน้ำ บางจุดก็จะเป็นนกปรอดสวน นกกระติ๊ดขี้หมู และภาพที่เห็นนี่คือนกเอี้ยงหงอนและนกเอี้ยงสาริกามาเล่นน้ำด้วยกันจนเปียก ปอน

เมืองไทยเป็นเมืองร้อน ทั้งคนและนกก็มีกรรมวิธีในการคลายร้อนได้เหมือนกัน คือลงอ่าง ที่สำคัญ ลงแล้วต้องอาบเอง ก็จะ “อยู่เย็น” เป็นสุขถ้วนหน้ากัน

ปริมาณที่พบ:มากทุ่งนา



เรียบเรียงข้อมูลโดย manman


รายการบล็อกของฉัน