นอกจากนี้ยังสามารถสกัดดีเอ็นเอได้จากนกช้าง ซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่เหมือนกับโม-อา และนกกระจอกเทศ นกพันธุ์นี้เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูง 3 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปเพราะชาวยุโรปที่เข้ายึดครองเกาะมาดากัสการ์เป็นอาณานิคมในศตวรรษที่ 17 นอกจากนกพันธุ์แปลก ๆ เหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์ยังประสบความสำเร็จในการสกัดดีเอ็นเอจากเปลือกไข่นกเค้าแมวออสเตรเลียและเป็ดนิวซีแลนด์ ตัวอย่างของเปลือกไข่ที่เก่าแก่ที่สุดคือนกอีมู เมื่อประมาณ 19,000 ปีที่แล้ว
นักวิจัยใช้เทคนิคการป่นเปลือกไข่โบราณให้เป็นผง และสกัดดีเอ็นเอด้วยสารเคมีในห้องแล็บหลังจากนั้นได้ขยายจำนวนด้วยเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้โดยนักนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ร่องรอยทางพันธุกรรม
คณะนักวิจัยกล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่จะสามารถสกัดดีเอ็นเอ ได้จากซากดึกดำบรรพ์เปลือกไข่ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 19,000 ปี ถ้าได้เปลือกไข่มาจากบริเวณที่มีความเย็นถาวร อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า การสกัดดีเอ็นเอยังไม่สามารถก้าวไปไกลถึงการโคลนเพื่อฟื้นคืนชีพนกที่สูญพันธุ์ไปแล้วให้กลับมาอยู่บนโลกอีกได้ เพียงแต่ทำให้นักวิทยาศาสตร์พอมองเห็นภาพของนกที่สูญพันธุ์ไปแล้ว และว่าในปัจจุบันก็สามารถสกัดดีเอ็นเอได้เพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 200 คู่ ซึ่งยังน้อยมากเมื่อเทียบกับดีเอ็นเอของมนุษย์ที่มีอยู่ราว 3,000 ล้านคู่ เป็นที่น่ายินดีเพราะอาจจะได้เห็นนกยักษ์ออกมาเดินเพ่นพล่าน กันให้ตื่นเต้าขนผองสยองขวัญกันในไม่ช้า