ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นกกระจอกเทศ (Ostrich)


นกกระจอกเทศ (Ostrich) จัดอยู่ในประเภทสัตว์มี
กระดูกสันหลัง
นกกระจอกเทศ จัดว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 160 กิโลกรัม มีอายุยืนได้ถึง 65 – 75 ปี ตัวผู้มีขนาดโตกว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยขนตามลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก

สำหรับตัวเมียจะมีขนตามตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน ปากมีลักษณะแบนและกว้างมาก ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศีรษะล้าน มีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อนคล้ายสีครีมหรือผลมะอึก คอยาวและมีขนอ่อนเช่นเดียวกับหัว ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาวพอสมควรแต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับการบิน ซึ่งขนปีกมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน

ลักษณะเท้าของนกกระจอกเทศจะพบว่ามีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ ปลายนิ้วทู่ ๆ ใหญ่ ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและนิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มากคือนิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็วของฝีเท้าจะมีนิ้วครบชุดมือ – เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้าเพื่อวิ่งหนีศัตรู ธรรมชาติก็จะวิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่นเท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า
นกกระจอกเทศ จัดว่าเป็นนกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขนาดโตเต็มที่สูงประมาณ 2 – 2.5 เมตร น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะหนักประมาณ 160 กิโลกรัม มีอายุยืนได้ถึง 65 – 75 ปี ตัวผู้มีขนาดโตกว่าตัวเมีย ตัวผู้เมื่อโตเต็มวัยขนตามลำตัวจะเปลี่ยนไปเป็นสีดำ ส่วนขนปีกและขนหางจะเป็นสีขาวสวยงามมาก

สำหรับตัวเมียจะมีขนตามตัวสีน้ำตาลเทาอ่อน ปากมีลักษณะแบนและกว้างมาก ดวงตากลมโต หัวเล็ก ศรีษะล้าน มีขนอ่อนบางสีเทา น้ำตาลอ่อนคล้ายสีครีมหรือผลมะอึก คอยาวและมีขนอ่อนเช่นเดียวกับหัว ปีกเล็กไม่สมตัว ขนที่ปีกยาวพอสมควรแต่ก็ไม่ใช่ขนสำหรับการบิน ซึ่งขนปีกมีไว้เพื่อความสวยงามเท่านั้น ขาและโคนขาเป็นขาเกลี้ยง ๆ ไม่มีขน

ลักษณะเท้าของนกกระจอกเทศจะพบว่ามีนิ้วเท้าข้างละ 2 นิ้ว ใต้นิ้วเป็นเนื้ออ่อน ๆ ปลายนิ้วทู่ ๆ ใหญ่ ๆ นิ้วทั้งสองจัดเป็นนิ้วกลางและนิ้วนางเท่านั้น นิ้วที่ใหญ่มากคือนิ้วกลาง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์โลกอย่างหนึ่งคือ สัตว์ที่ไม่ใช้ความเร็วของฝีเท้าจะมีนิ้วครบชุดมือ – เท้าข้างละ 5 นิ้ว หากสัตว์นั้นต้องการความเร็วของฝีเท้าเพื่อวิ่งหนีศัตรู ธรรมชาติก็จะวิวัฒนาการให้นิ้วหายไปทีละนิ้วสองนิ้วจนเหลือแต่เพียงนิ้วเดียว เช่นเท้าของม้า มีเพียงนิ้วเดียวที่เรียกว่ากีบเท้าม้า
ลักษณะการวิ่งของนกกระจอกเทศ เมื่อออกวิ่งจะยืดหัวกับคอไปข้างหน้า ปีกที่ใช้ประโยชน์ในการบินจะกางออกเล็กน้อยเพื่อการทรงตัว ปกตินกกระจอกเทศจะเป็นสัตว์อารมณ์ดี นิสัยไม่ดุร้ายมีความสนใจในสิ่งแปลกใหม่ ชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มและไม่ทำร้ายใครก่อน แต่ค่อนข้างที่จะเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อมีเสียงดังจะตกใจวิ่งหนีออกไปอย่างรวดเร็ว ถ้ามีอะไรขวางจะชนทันที จึงเป็นอันตรายสำหรับนกเอง แต่ถ้าคุ้นเคยก็จะเข้ามาหา ชอบใช้ปากจิกสิ่งแปลกใหม่และวัสดุสะท้อนแสง

ดังนั้น คนที่เลี้ยงนกกระจอกเทศหรือเข้าไปดูนกกระจอกเทศไม่ควรใส่แหวน ตุ้มหู และเครื่องประดับอื่น ๆ ที่เป็นพวกโลหะ เพชร พลอย และอื่น ๆ ที่สะท้อนแสง นกกระจอกเทศจะชอบอยู่กันอย่างเงียบ ๆ ไม่ค่อยชอบส่งเสียง ไม่ร้องหนวกหู

นกกระจอกเทศนั้นถึงแม้ว่าจะมีมันสมองเล็กแต่ก็มีความสามารถในการจดจำบางสิ่งบางอย่างได้เป็นอย่างดีมีความสามารถในการจำผู้เลี้ยงดูได้เป็นอย่างดี จำสถานที่พักอาศัยที่ปลอดภัยได้ และถ้าตกใจหรือถูกรังแกทำร้ายจากสัตว์ชนิดใด นกกระจอกเทศจะจดจำ เมื่อจวนตัวหรือโกรธจะต่อสู้ป้องกันตัวด้วยการเตะไปข้างหน้าพร้อมทั้งจิกศัตรูที่รังแก

ธรรมชาติได้สร้างให้นกกระจอกเทศมีสีที่พรางตัวเป็นอย่างดีในทุ่งหญ้าแถบทะเลทราย และคอที่ยาวจึงสามารถมองเห็นศัตรูที่จะมาทำร้ายได้ในระยะไกล ๆ นกจะยืดหดคอและหัวขึ้น ๆ ลง ๆ ตลอดเวลาเพื่อเป็นการตรวจสอบระแวดระวังภัย

โดยทั่วไปแล้วนกกระจอกเทศชอบที่จะอาศัยอยู่ในสภาพพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่นจนถึงร้อน มีความชื้นต่ำ ในเวลากลางวันที่แดดร้อนจะหลบเข้าตามร่มเงาของต้นไม้ ดังนั้นการเลี้ยงนกกระจอกเทศจะให้ประสบความสำเร็จควรจะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีอากาศอบอุ่น ไม่มีฝนตกชุกมากนัก ความชื้นต่ำ ซึ่งในประเทศไทยพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดควรเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางตอนล่างเป็นต้น

พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมได้แก่ ภาคใต้และภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณฝนชุกและความชื้นสูง พายุลมฝนและบางครั้งมีฝนตกติดต่อกันหลายวันอากาศชื้น มีลมหนาวเย็น อาจทำให้นกกระจอกเทศเจ็บป่วยได้

ภูมิอากาศที่เป็นอันตรายที่สุดสำหรับนกกระจอกเทศคือ ลมพายุฝน ฝนที่ตกพรำ ๆ และมีอากาศหนาว ลูกเห็บ ซึ่งในต่างประเทศที่เลี้ยงนกกระจอกเทศจึงมีคอกพักที่ปิดมิดชิดให้ความอบอุ่นแก่นกกระจอกเทศ

นกกระจอกเทศเมื่อมีอายุประมาณ 10 – 14 เดือนน้ำหนักประมาณ 90 – 110 กิโลกรัม เป็นวัยที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด แต่ต้นทุนการผลิตต่ำสุด เมื่อนกกระจอกเทศอายุมากขึ้น อัตราการเปลี่ยนอาหารให้เป็นเนื้อก็จะยิ่งสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าต้องกินมากแต่ได้เนื้อน้อย ต้นทุนในการผลิตก็จะยิ่งมากขึ้นด้วย


นกกระจอกเทศหนึ่งตัวสามารถให้ผลผลิตต่าง ๆ มากมายและมีคุณภาพดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ หนัง ขนหรือไข่เพราะการผลิตแต่ละชนิดมีความสามารถเฉพาะตัวดังนี้

1.หนัง(Leeather) ถือว่าเป็นส่วนที่มีค่าและราคาแพงที่สุดเพราะหนังนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีเยี่ยม ดีกว่าหนังจรเข้เสียอีก นกกระจอกเทศ 1 ตัว จะให้หนังที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไปถึง 3 แบบคือ

หนังส่วนแข้ง จะมีลักษณะเป็นเกล็ดคล้ายหนังของสัตว์เลื้อยคลานบางประเภท
หนังบริเวณต้นขา จะเป็นหนังเรียบคล้ายหนังวัว
หนังบริเวณหลัง จะมีเม็ดตุ่มนูนขึ้นมา ซึ่งตุ่มนี้คือรูขุมขนนั่นเอง

หนังของนกกระจอกเทศสามารถนำไปใช้ประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแจ๊คเก็ต กระเป๋า รองเท้า เข็มขัด หรือบู๊ตก็ตาม นกกระจอกเทศอายุ 10 – 14 เดือน จะให้หนังที่มีคุณภาพดีที่สุดขนาด 1.1 – 1.5 ตารางเมตร

2.เนื้อ (Meat) เนื้อนกกระจอกเทศจะมีสีแดงเหมือนเนื้อวัวแต่รสชาติจะอ่อนนุ่มคล้ายเนื้อไก่ มีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำมาก จึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเส้นเลือดสูง หรือผู้ที่บริโภคเนื้อวัวก็สามารถหันมาบริโภคเนื้อนกกระจอกเทศได้ อายุที่ควรส่งโรงงานแปรรูปคือ 10 – 14 เดือน มีน้ำหนักระหว่าง 90 – 110 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อชำแหละแล้วจะได้น้ำหนักซาก 50 – 55 % โดยเฉลี่ยจะเป็นเนื้อที่ขาเสีย 33 – 35 % นอกจากนั้นก็เป็นเนื้อจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากการวิเคราะห์ พบว่าเนื้อนกกระจอกเทศมีคุณค่าทางอาหารที่ดี มีไขมันต่ำ (1.2%) คอเลสเตอรอลน้อยประมาณ 600 มิลลิกรัม โปรตีนสูงกว่า 20 % น้ำ 75.4 % นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น ในเนื้อนกกระจอกเทศ 100 กรัม จะมีแมกนีเซียม 21.5 มิลลิกรัม ฟอสเฟต 208 มิลลิกรัม และโพแทสเซียม 351.4 มิลลิกรัม

3.ขน (Feathers) พัฒนาการของขนนกกระจอกเทศตั้งแต่แรกเกิดจนถึงโตเต็มที่ จะแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกเกิดเข้าสู่ระยะลูกนก แล้วเป็นนกรุ่น และไปสิ้นสุดที่นกโตเต็มวัย (Adult) ใช้เวลานาน 16 เดือน จนเมื่อนกกระจอกเทศอายุ 2 ปีขึ้นไป ขนนกจะไม่มีการพัฒนารูปแบบอีกเลย นกตัวผู้จะมีขนสีดำปลายปีกและหางจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีขนสีน้ำตาลเทาตลอดลำตัว ขนสีขาวบริเวณปลายปีกและหางจะมีราคาแพงที่สุด ผู้เลี้ยงสามารถตัดขนนกระยะห่างกันทุก 6 เดือน จะได้ขนนกประมาณ 1.5 – 2 กิโลกรัม โดยนำไปใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ตกแต่งเสื้อผ้า และที่สำคัญที่สุดคือ ทำเป็นไม้ปัดฝุ่นสำหรับใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่บอบบางต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

รายการบล็อกของฉัน