ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นกกาน้อยแต่หงอนยาวๆ


นกกาน้อยหงอนยาว
นกกาน้อยหงอนยาว
สถานะการอนุรักษ์
ใกล้ถูกคุกคาม (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Aves
อันดับ:Passeriformes
วงศ์:Corvidae
สกุล:Platylophus
Swainson, 1832
สปีชีส์:P.  galericulatus
ชื่อทวินามPlatylophus galericulatus
(Cuvier, 1817)
นกกาน้อยหงอนยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Platylophus galericulatus) เป็นนกในวงศ์นกกา (Corvidae) และัจัดเป็นชนิดเดียวในสกุล Platylophus


พบในบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และไทย ถิ่นอาศัยธรรมชาติเป็นที่ราบป่าไม้เขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนความชื้นสูงและเทือกเขาที่มีความชื้นสูงในกึ่งเขตร้อนหรือเขตร้อน ถูกคุกคามโดยการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย


ลักษณะ
นกกาน้อยหงอนยาวมีความยาวจากปลายปากถึงปลายหางประมาณ 31-33 เซนติเมตร ปีกยาวประมาณ 14 เซนติเมตร ส่วนหัวมีลักษณะเด่นที่หงอนยาวตั้งอยู่ด้านหลังของกระหม่อม ปากยาวปานกลาง ปลายปากงุ้มเป็นตะขอเล็กน้อย 

ขนปุยปิดจมูกสั้นมาก และไม่ปิดรูจมูก แต่มีขนรอบโคนปากยาวและเด่นมาก หางยาวปานกลาง ปลายขนหางมีลักษณะมน ขาสีคล้ำ นกทั้งสองเพศมีลักษณะคล้ายกัน แต่ขนคลุมตัวของนกในปีแรกและนกไม่เต็มวัยจะมีลักษณะแตกต่างออกไป

นกวัยอ่อนมีหงอนสั้นๆ ขนคลุมลำตัวมีสีน้ำตาลแดง และจะค่อยๆจางลงทางด้านท้อง บริเวณปลายขนบางเส้นเป็นสีขาว ทำให้มองดูเป็นจุดด่างลายตรงส่วนอกถึงท้อง ปีกสีน้ำตาลอมเขียวมะกอกจางกว่านกตัวเต็มวัย ปลายขนคลุมปีกมีสีอ่อน


การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย
นกกาน้อยหงอนยาวมีการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่ในเขตชีวภาพซุนดา จากใต้เขตตะนาวศรี พม่า ไทย รัฐซาบะฮ์ รัฐซาราวัก มาเลเซียตะวันตก กาลีมันตัน สุมาตรา ชวา อินโดนีเซียและบรูไน พบในในป่าดิบที่ลุ่มที่ระดับความสูง 1,500 เมตร

รายการบล็อกของฉัน