นกชนหินที่โตเต็มวัย
โหนกบนหัวมมีน้ำหนักประมาณ 11% ของน้ำหนักตัว ใช้สำหรับต่อสู้ด้วยการเอาหัวชนกัน ระหว่างตัวผู้ โหนก นี้ต่างจากของเงือกชนิดอื่นๆ เพราะมีลักษณะตันแทบทั้งชิ้น ....
ชาวปูนันเชื่อว่านกชนิดนี้เป็นผู้พิทักษ์แม่น้ำที่แบ่งกั้นระหว่างความเป็นและความตาย
หน้าตาของนกชนหินมีลักษณะเหมือนสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์
นกชนหิน ถือว่าเป็นนกที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนานถึง 45 ล้านปี จาก DNA ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษามานั้น พวกมันมีสายพันธุกรรมแตกต่างจากนกทั่วไป
นกชนหินมักจะทำรังบนต้นไม้สูง
ลักษณะตรงสันบนปากมีขนาดใหญ่และหนา เนื้อในสีขาวตันคล้ายงาาช้าง จะงอยปากยาว มีขนหางพิเศษคู่หนึ่งจะงอกยาวเลยขนหางเส้นอื่นๆ ถึง 50 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดลำตัวยาวจากปลายจะงอยปากถึงปลายขนหาง 127 เซนติเมตร
สีของแผงคอที่เป็นเอกลักษณ์
ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาว มีแถบสีดำพาดขวาง และปลาายปีกสีขาว เป็นแถบกว้าง และไม่มีขนปกคลุมใต้ปีก จะงอยปากคอนโดนและสันสีแดงคล้ำ ตอนปลายสีเหลืองเรื่อๆ บริเวณลำคอไม่มีขนในนกตัวผู้จะมีสีแดงคล้ำ ส่วนนกตัวเมียจะมีสีฟ้าซีด หรือสีฟ้า
นกชนหินเพศผู้ และเพศเมีย
แต่นกที่ยังโตไม่เต็มวัยเพศผู้ที่คอจะมีสีแดงเรื่อๆ และนกเพศเมียหนังส่วนนี้จะมีสีม่วง นอกจากนี้สันบนจะงอยปากจะมีขนาดเล็กกว่า และขนหางของนกวัยยังไม่เจริญเต็มที่ จะมีลักษณะสั้นกว่า
หากินในระดับยอดไม้ กินผลไม้เป็นส่วนใหญ่ หรือบางครั้งอาจกินสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กิ้งก่า กระรอก มักจะอยู่โดดเดี่ยว หรือเป็นคู่ ผสมพันธุ์ช่วงเดือนมกราคม หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ ทำรังบนต้นไม้สูง ลักษณะรังเหมือนนกเงือกชนิดอื่น
มีเสียงร้องไม่เหมือนนกชนิดอื่นๆ โดยนกตวผู้จะร้องติดๆ กันดัง “ตู๊ก….ตู๊ก” เมื่อตกใจจะแผดเสียงสูง คล้ายเสียงแตร และมันจะต่อสู้กันแย่งอาณาเขต ด้วยการใช้หัวชนกัน หรือบินเอาหัวชนกัน จึงเป็นที่มาของชื่อ “นกชนหิน” ลูกนกชนหินจะเลี้ยงนานกว่าลูกนกอื่นชนิดอื่น ถือต้องใช้เวลาเลี้ยงถึง 5 เดือน
หัวของนกชนหินนิยมนำมาทำเครื่องประดับและแกะสลัก
ปัจจุบันนกชนิดนี้ประสบปัญหาเสี่ยงสูญพันธุ์ เนื่องจากคนส่วนมากมีความเชื่อว่าหากได้ครอบครองจะงอยปากของนกชนิดนี้จะนำความโชคดีมาให้ ทั้งยังเป็นเครื่องบ่งบอกฐานะทางสังคม คล้ายกับงาช้าง จึงนิยมนำเอาจะงอยปากของนกชนิดนี้ไปแกะสลักทำเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ และมีราคาสูง จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ทำให้มีการลักลอบล่านกชนิดนี้ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย
ชิ้นส่วนแกะสลักจากหัวนกชนหิน
นกชนหินหลงเหลืออยุ่ในป่าของประเทศไทยอยู่น้อยกว่า 100 ตัว พบในป่าดิบชื้นระดับต่ำ ตั้งแต่แถบเทือกเขาตะนาวศรีลงมาทางใต้ของประเทศไทย จนถึงมาเลเซีย สุมาตรา และบอร์เนียว
ปัจจุบันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1 และอนุสัญญาไซเตส (CITES) จัดไว้ในบัญชีที่ 1 และสหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรรมชาติ (IUCN) จัดให้อยู่ในสถานภาพเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่ง
การล่านกชนหิน นิยมตัดหัวออกมา
และปี พ.ศ. 2564 นกชนหินได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของประเทศไทย เพื่อผลักดันการอนุรักษ์ให้ยั่งยืน