มีงานศึกษาที่เก็บซากนกในเมืองชิคาโก้มาวัดขนาด พบว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา นกเหล่านี้มีขนาดตัวที่ลดลง นักวิชาการเชื่อว่านี่คือผลกระทบที่เป็นรูปธรรมในเชิงชีวภาพจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
สำนักข่าว Reuters รายงานว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 นักวิจัยได้เก็บซากนกจำนวนหลายหมื่นตัว ระหว่างที่พวกมันบินอพยพย้ายถิ่นฐานช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งนกเหล่านี้มักจะตายจากการชนตึกในมหานครชิคาโก้ พวกเขาพบว่านกที่เก็บได้มีขนาดตัวที่เล็กลง
รายละเอียดของการศึกษานี้เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลระหว่าง พ.ศ. 2521 และ ปี พ.ศ. 2559
โดยผู้ศึกษาทำการเก็บซากนกที่เสียชีวิตจากการชนตึกในเมืองชิคาโก้ได้ทั้งสิ้น 70,716 ตัว เป็นนกที่มาจาก 52 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นนกในสายพันธุ์ร้องเพลงหรือ songbirds เช่น นกกระจอก นกกระจิ๊ด และนกเอี้ยง ซึ่งนกเหล่านี้จะผสมพันธุ์ในเขตหนาวของทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนจะบินอพยพมาใช้เวลาช่วงฤดูหนาวในพื้นที่ตอนใต้ของเมืองชิคาโก้ นักวิจัยทำการวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก พบว่าขนาดตัวของซากนกที่เก็บได้มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
โดยผู้ศึกษาทำการเก็บซากนกที่เสียชีวิตจากการชนตึกในเมืองชิคาโก้ได้ทั้งสิ้น 70,716 ตัว เป็นนกที่มาจาก 52 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นนกในสายพันธุ์ร้องเพลงหรือ songbirds เช่น นกกระจอก นกกระจิ๊ด และนกเอี้ยง ซึ่งนกเหล่านี้จะผสมพันธุ์ในเขตหนาวของทวีปอเมริกาเหนือ ก่อนจะบินอพยพมาใช้เวลาช่วงฤดูหนาวในพื้นที่ตอนใต้ของเมืองชิคาโก้ นักวิจัยทำการวัดขนาดและชั่งน้ำหนัก พบว่าขนาดตัวของซากนกที่เก็บได้มีค่าเฉลี่ยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
ทว่าการวัดความยาวจากปลายปีกทั้งสองข้างกลับเจอว่ามีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น
นักวิจัยชี้ขนาดตัวที่เล็กลงของนกในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งอาจเชื่อได้ว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก มาจากผลกระทบของอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งพวกเขาได้อ้างอิงความสอดคล้องกับกฎ Bergmann's rule ที่อธิบายว่า สัตว์ที่อาศัยในเขตหนาวจะมีขนาดใหญ่กว่าสัตว์ในสายพันธุ์ใกล้กันที่อาศัยในเขตร้อน ทำให้สรุปได้ว่าขนาดตัวของสิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มจะหดตัวลงเมื่ออุณหภูมิปรับสูงขึ้น
ตลอดเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ซากนกทั้ง 52 สายพันธุ์มีขนาดตัว
ที่ลดลง น้ำหนักเฉลี่ยโดยรวมลดลง 2.6% ความยาวของกระดูกขา
ลดลง 2.4%
ในขณะที่ความยาวจากปลายปีกทั้งสองข้างปรับเพิ่มขึ้น 1.3% ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่า การปรับตัวทางด้านกายภาพของนกเหล่านี้เป็นไปเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ ทำให้บินอพยพในระยะทางที่ไกลแม้ตัวของพวกมันจะเล็กลง
ทางด้านเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้ Brian Weeks นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัย University of Michigan คณะสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน กล่าวว่า
“การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศก่อให้เกิดการเปลี่ยนทั้งด้านรูปร่างและขนาดของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้”
เขายังกล่าวเพิ่มอีกว่า “การที่มนุษย์กำลังขับเคลื่อนโลกไปด้วยความเร็วและขยายความเจริญอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน การตอบสนองเชิงชีวภาพของธรรมชาติโดยรวม ก็กำลังปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปด้วย”
ส่วน Dave Willard เจ้าหน้าพิเศษแห่งพิพิธภัณฑ์ Field Museum ในเมืองชิคาโก้ ผู้ทำการตรวจสอบซากนกบอกว่า “เราต่างรู้ดีว่าอุณหภูมิโลกปรับสูงขึ้น และวันนี้เราเห็นตัวอย่างได้ชัด สำหรับผลกระทบที่มันเกิดขึ้นในธรรมชาติ ”
การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งที่ทำการตีพิมพ์ในเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ให้ข้อมูลใหม่ที่น่ากังวลสำหรับนกในทวีปอเมริกาเหนือ
โดยระบุว่าจำนวนประชากรนกในประเทศสหรัฐฯ และประเทศแคนาดา ปรับลดลงจากปี พ.ศ. 2513 ร้อยละ 29 หรือคิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2.9 พันล้านตัว