เมื่อเร็วๆนี้นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยควีน แมรี ในกรุงลอนดอน แห่งอังกฤษ รายงานการวิเคราะห์ล่าสุดถึงซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) อายุ 77 ล้านปี ที่พบในรัฐอัลเบอร์ตาของแคนาดา
ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2535 ถูกระบุว่าเป็นซากฟอสซิลของอัซห์ดาร์คิด (Azhdar-chid) จัดเป็นเทอโรซอร์ (pterosaurs) หรือสัตว์เลื้อยคลานบินได้
ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2535 ถูกระบุว่าเป็นซากฟอสซิลของอัซห์ดาร์คิด (Azhdar-chid) จัดเป็นเทอโรซอร์ (pterosaurs) หรือสัตว์เลื้อยคลานบินได้
ทว่านักบรรพชีวินวิทยารู้น้อยมากเกี่ยวกับอัซห์ดาร์คิดและกายวิภาคของพวกมัน เนื่องจากอัซห์ดาร์คิดจัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เลื้อยคลานบินได้ขนาดใหญ่ คอยาว ปากใหญ่ยาว
อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสเมื่อ 145-66 ล้านปีก่อน เมื่อพิจารณาการทำงานและแบ่งประเภทของปีก คอ ขา และกระดูกซี่โครง นักบรรพชีวินวิทยาสันนิษฐานว่า อัซห์ดาร์คิดอายุ 77 ล้านปีตัวนี้ อาจเป็นเควตซัลโคแอตลัส (Quetzalcoatlus) คือเทอโรซอร์ขนาดใหญ่ที่พบในรัฐเท็กซัส แห่งสหรัฐอเมริกา
อาศัยอยู่ในยุคครีเตเชียสเมื่อ 145-66 ล้านปีก่อน เมื่อพิจารณาการทำงานและแบ่งประเภทของปีก คอ ขา และกระดูกซี่โครง นักบรรพชีวินวิทยาสันนิษฐานว่า อัซห์ดาร์คิดอายุ 77 ล้านปีตัวนี้ อาจเป็นเควตซัลโคแอตลัส (Quetzalcoatlus) คือเทอโรซอร์ขนาดใหญ่ที่พบในรัฐเท็กซัส แห่งสหรัฐอเมริกา
ทว่าการวิเคราะห์ใหม่เผยว่า ซากฟอสซิลดังกล่าวไม่ใช่เควตซัลโคแอตลัส แต่เป็นสกุลใหม่ของอัซห์ดาร์คิด และได้รับการตั้งชื่อว่าไครโอดรากอน โบรีแอส (Cryodrakon Boreas) มีความโดดเด่นคือระยะระหว่างปีกทั้ง 2 ข้างเมื่อกางเต็มที่จะมีขนาดมากกว่า 10 เมตร
น่าจะบินได้เหนือศีรษะของไดโนเสาร์และเชื่อว่าเป็นเทอโรซอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สายพันธุ์นี้กินเนื้อสัตว์ขนาดเล็กอาจรวมถึงกิ้งก่าหรือแม้แต่ลูกไดโนเสาร์ แต่ด้วยน้ำหนักราว 250 กิโลกรัมก็ยากจะเชื่อว่าไครโอดรากอน โบรีแอสจะบินได้ ทว่าก็มีหลักฐานว่ามันสามารถบินได้จริง.
น่าจะบินได้เหนือศีรษะของไดโนเสาร์และเชื่อว่าเป็นเทอโรซอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก สายพันธุ์นี้กินเนื้อสัตว์ขนาดเล็กอาจรวมถึงกิ้งก่าหรือแม้แต่ลูกไดโนเสาร์ แต่ด้วยน้ำหนักราว 250 กิโลกรัมก็ยากจะเชื่อว่าไครโอดรากอน โบรีแอสจะบินได้ ทว่าก็มีหลักฐานว่ามันสามารถบินได้จริง.