ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ตะลึง ฟอสซิลนกเพนกวินยักษ์ในเปรู


ฟอสซิลนกเพนกวินยักษ์ในเปรู
ฟอสซิลของนกเพนกวินยักษ์ที่ดุร้ายกว่านกเพนกวินในปัจจุบัน คาดว่าสูญพันธ์เพราะภาวะโลกร้อนในอดีต
นักโนราณคดีโปรเฟสเซอร์จูเลีย คลาก
 (Professor Julia Clarke) จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา และทีมงาน ได้ค้นพบฟอสซิลในชายฝั่งทะเลประเทศเปรู ของเจ้านกสวมเสื้อสูทที่สูงกว่า 1.5 เมตร และคิดว่ามีหนักพอๆกับร่างกายของคนเรา

ผลงานได้เผยแพร่ใน Proceedings of the National Academy of Science จากโครงกระดูกนี้แสดงให้เห็นว่า นกเพนกวินมีขนาดใหญ่มาก มีส่วนปีกที่แข็งแร็ง คอมีลักษณะเป็นก้อนคลื่นและจงอยปากยาว 18 ซม.จอมพลัง ทีมงานได้ตั้งชื่อสปีชีส์นี้ว่า Icadyptes salasi ถ้าพวกมันยังมีชีวิตอยู่ ก็จะเป็นนกเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่านกเพนกวินสปีชีส์เอ็มไพเรอร์ (Emperors) สูง1.2 เมตรที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้

ทีมผู้ค้นพบยังไม่มีหลักฐานเรื่องอาหารการกินของเจ้าเพนกวินเหล่านั้น แต่ส่วนปีกนั้นถูกปรับให้เหมาะต่อการว่ายน้ำ และบริเวณที่พบโครงกระดูกพบคือหินตะกอนที่ทอดตัวลงสู่ชายฝั่ง จงอยปากที่ยาวเรียวรูปร่างประหลาดนั้นสันนิษฐานว่าใช้ในการจับปลา ข้อที่ต่อกับกล้ามเนื้อลำคอมีขนาดใหญ่สันนิษฐานว่าใช้ในมันใช้ลำคอที่แข็งแร็งของมันพุ่งเข้าแทงเหยื่อ!! ลักษณะเหล่านี้ของมันไม่พบในนกเพนกวินที่ยังมีชีวิตอยู่
การค้นพบนั้นสวนทางกับกฎธรรมชาติที่ว่า เมื่อโลกร้อนขึ้น สัตว์สปีชีส์ต่างๆที่อพยพจากภูมิอากาศหนาวเย็นสู่พื้นที่ที่อบอุ่น จะพยายามปรับให้มีรูปร่างเล็กลง แต่ฟอสซิลที่พบนั้นแสดงให้เห็นว่า นกเพนกวินมีขนาดร่างกายขนาดใหญ่เพื่อเตรียมเข้าสู่ภาวะโลกร้อน

เมื่อ 36 ล้านปีก่อน และในกรณีนี้ยังขัดกับทฤษฎีที่ว่าขนาดร่างกายที่ใหญ่นั้นมีประโยชน์ต่อการอาศัยอยู่ในอากาศหนาวเย็นเนื่องจากมันสามารถลดอัตราส่วนพื้นผิวต่อปริมาตรร่างกาย ทำให้เก็บรักษาความอบอุ่นได้ดี แต่เจ้าเพนกวิน Icadyptes salasi ที่มีร่างกายขนาดใหญ่นี้ถูกค้นพบในพื้นที่ที่ร้อนเหมือนทะเลทรายอะตาคามา (ทะเลทราย Atacama ในประเทศชิลี ได้รับการกล่าวขวัญถึงว่า เป็นทะเลทรายที่ไม่มีต้นไม้และแห้งแล้งที่สุดในโลก (Lonely Planet, 2007))

นอกจากนั้น การค้นพบยังขัดแย้งกับแนวคิดที่ว่า นกเพนกวินไม่ได้อพยพมายังแถบเส้นศูนย์สูตรจนกระทั่ง 4 ถึง 8 ล้านปีที่แล้ว (ช่วงเริ่มย่างเข้ายุคน้ำแข็ง ที่แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกเริ่มขยาย) แต่ฟอสซิลดังกล่าวอายุประมาณ 36 – 42 ล้านปี หรือในยุค Eocene ซึ่งเป็นช่วงที่อุณหภูมิของโลกร้อนที่สุดช่วงหนึ่งในช่วง 65 ล้านปีที่แล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่าการอพยพของพวกมันไปสู่แถบอากาศเขตร้อนนั้นเร็วกว่าที่นักชีววิทยาเข้าใจ และเนื่องจากนกเพนกวินชนิดนี้นั้นอาศัยอยู่ในช่วงที่โลกในอดีตได้ประสบปัญหาโลกร้อน (Global warming) แล้ว การค้นพบนี้ทำให้นักชีววิวัฒนาการต้องหันมาทำความเข้าใจวิวัฒนาการของเจ้านกยักษ์ปากยาวเสียใหม่

ทุกวันนี้ มีเพียงนกเพนกวิน Humboldt เท่านั้นที่พบในชายฝั่งของประเทศเปรู ทีมงานพยายามที่จะชี้ให้เห็นว่า สปีชีส์ Icadyptes salasi นี้ได้ปรับตัวให้เข้ากับภูมิอากาศเขตร้อน แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่านกเพนกวินที่ยังมีชีวิตอยู่ทุกวันนี้จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะโลกที่ร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันนี้ได้


รายการบล็อกของฉัน