ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นกกระจอกบ้าน(Eurasian Tree Sparrow)

นกกระจอกบ้าน
ชื่อ(อังกฤษ: Eurasian Tree Sparrow)
เป็นนกเกาะคอนในวงศ์นกกระจอก มีสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อนและหลังคอ แก้มสีขาวมีจุดดำบนแก้มแต่ละข้าง นกกระจอกทั้งสองเพศมีชุดขนคล้ายกัน นกวัยอ่อนมีสีขนจืดกว่านกที่โตเต็มที่ นกชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์เกือบทั้งทวีปยูเรเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้) และมันถูกนำไปสู่ที่อื่นๆ รวมถึง สหรัฐอเมริกา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Eurasian Tree Sparrow (นกกระจอกต้นไม้ยูเรเชีย) หรือ German Sparrow (นกกระจอกเยอรมัน) ต่างไปจากนกพื้นเมือง นกกระจอกต้นไม้อเมริกา (American Tree Sparrow) แม้ว่าจะมีหลายชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ แต่ลักษณะที่ปรากฏของนกแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยตลอดแนวการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง
รูปร่างลักษณะ  เป็นนกขนาดเล็กมาก (15 ซม.) นกทั้งสองเพศมีลักษณะและสีสันคล้ายกัน  ปากอ้วนสั้น เป็นปากกรวย หัวค่อนข้างใหญ่  คอสั้น ปีกสั้น ปลายปีกมน หางค่อนข้างสั้น หน้าผาก กระหม่อม จนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลเข้มแกมแดง หัวตาและรอบๆตาเป็นสีดำ คาง ใต้คอมีแต้มสีดำ บริเวณแก้มและขนคลุมหู และเกือบรอบหลังคอเป็นสีขาว หัวด้านข้างและคอสีขาว  ขนบริเวณหู มีแถบขนาดใหญ่สีดำ ใต้คอสีดำ ลำตัวด้านบนและปีกสีน้ำตาลเข้ม  ขนปลายปีกและขนโคนปีกมีแถบสีขาวสองแถบ

แหล่งอาศัยหากิน  ใน แถบเอเซีย  นกกระจอกบ้านอาศัยและหากินเฉพาะตามหมู่บ้านหรือบริเวณใกล้เคียงหมู่บ้าน  ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล  แต่ส่วนใหญ่จะพบในระดับต่ำ  อาจพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงใหญ่ 
            
นิสัยประจำพันธุ์  เป็นนกที่คนทั่ว ไปคุ้นเคยกันมาก  และนับเป็นนกที่รบกวนความเป็นอยู่ของคนมากชนิดหนึ่ง  เพราะชอบเกาะตาม ชายคา หลังคา ขื่อ แป ซอกมุมของบ้านเรือนหรือแม้กระทั่ง โคมไฟที่ห้อยหรือแขวนตามเพดานหรือผนังบ้าน ถ่ายมูลหรือทำรัง ทำให้ บ้านเรือนสกปรก นอกจากอาคารบ้านเรือนแล้ว  ยังเกาะตามกิ่งไม้ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์และบางครั้ง ก็ลงมาหากิน ที่พื้นดิน เป็นนกที่ส่งเสียงร้องเซ็งแซ่ โดยเฉพาะในช่วงตอนเย็นก่อนมืดค่ำ เนื่องจากแย่งที่เกาะนอน เมื่อมืดแล้วเสียงจึงเงียบไปและมาดังอีกช่วงเช้าตรู่เมื่อแยกกันออกไปหากิน นกกระจอกบ้าน มีพฤติกรรมอาบน้ำ และอาบฝุ่นซึ่งมักเห็นเป็นประจำเกือบทุกฤดูกาล
ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่  นก กระจอกบ้านเป็นนกที่จับคู่กันตลอดทั้งปี  จึงมีฤดูผสมพันธุ์ตลอดทั้งปีด้วย แต่จะพบมากว่าทำรังส่วนใหญ่ในเดือนธันวาคม และ มกราคม นกกระจอกบ้านในทวีปยุโรป จากการวิจัยพบว่าจับคู่กันตลอดชีวิต ถ้าหากตัวใดตัวหนึ่งตายไปก่อน ตัวที่ยังมีชีวิตอยู่จะไปจับคู่กับนกกระจอกบ้านอื่น ที่เพิ่งโตเต็มวัยและจับคู่กันไปจนตลอดชีวิต  เข้าใจว่านกกระจอกบ้านในประเทศไทย ก็คงจับคู่กันตลอดชีวิตเช่นกัน
            
แหล่งแพร่กระจายพันธุ์  พบ ในยุโรปยูเรเซีย อินเดีย จีน เกาะไหลำ ไต้หวัน  เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดาใหญ่และมีการนำเข้าไปใน ฟิลิปปินส์ เกาะสุลาเวสี เกาะต่างๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา
            
สำหรับประเทศไทย  เป็น นกประจำถิ่นพบมากทั่วประเทศพบเฉพาะตามบ้านคนหรือใกล้หมู่บ้าน  ไม่พบในป่าที่ห่างไกลหมู่บ้าน ประเทศไทยมีนกกระจอกบ้านอยู่เพียงชนิดย่อยเดียว คือ นกกระจอกบ้าน  ชนิดย่อย Passer  montanus  malaccensis นกกระจอกบ้านเป็นสัญลักษณ์หรือ ดัชนีชี้ให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมด้วย เพราะมนุษย์ต้องทำลาย ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้กับตนเองและการทิ้งเศษอาหาร เรี่ยราดในที่สาธารณะ ทำให้นกกระจอกบ้านมีแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ก็ยิ่ง เพิ่มจำนวนประชากร ได้รวดเร็ว  ในขณะเดียวกัน ถ้าสภาพแวดล้อมมีมลภาวะมีการปนเปื้อนสารเคมีอันตรายหรือ มีขยะพิษสะสมมาก จำนวนประชากรนกกระจอกบ้านในแหล่งนั้นก็จะลดจำนวนลง นกชนิดนี้จึงเป็น ดัชนีชี้วัดได้ทั้งความเจริญและความเสื่อมโทรมไปพร้อมกัน


เรียบเรียง ข้อมูลเพิ่มเติมโดย maenmen

รายการบล็อกของฉัน