ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นกยูง

นกยูง
วงศ์ PHASIANIDAE
Pavo muticus Linnaeus, 1766

ลักษณะ :
นกจำพวกไก่ฟ้าขนาดใหญ่ ลำตัวยาว 120-210 เซนติเมตร ซึ่งรวมหางนกตัวผู้ที่มีความยาวถึง 100 เซนติเมตรด้วย นกตัวผู้ยังมีหงอนเป็นพู่สูงและมีแผ่นหนังที่หน้าสีฟ้าสลับสีเหลืองเห็นได้ชัดเจน ขนลำตัวมีสีเขียวเป็นประกายแววเหลือบสีน้ำเงินบนปีกและสีทองแดงทางด้านข้างลำตัวดูเป็นลายเกล็ดแพรวพราวไปทั้งตัว ขนปีกบินสีน้ำตาลแดง ขนคลุมโคนหางยื่นยาวออกมาก มีสีเขียวและมีจุดดวงตากลมที่ขลิบด้วยสีฟ้าและสีน้ำเงิน นกตัวเมียลักษณะโดยทั่วไปคล้ายนกตัวผู้ แต่ขนสีเหลือบเขียวน้อยกว่าและมีประสีน้ำตาลเหลืองอยู่ทั่วไป ขนคลุมโคนหางไม่ยื่นยาวดังเช่นในนกตัวผู้

อุปนิสัย:
ออกหากินตามหาดทรายและสันทรายริมลำธารในตอนเช้าตรู่จนกระทั่งถึงตอนบ่ายกินทั้งเมล็ดพืชและสัตว์เล็กๆ แล้วจึงบินกลับมาเกาะนอนอยู่บนยอดไม้สูง ปกติอยู่เป็นฝูงเล็กๆ 2-6 ตัว ยกเว้นในบางบริเวณเช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี พบนกยูงอยู่รวมกันเป็นฝูงถึง 10 ตัว ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนเมษายน ขนคลุมโคนหางของนกตัวผู้จะเจริญเต็มที่ในเดือนตุลาคม และจะผลัดขนนี้ในเดือนกุมภาพันธ์ วางไข่สีขาว 2-5 ฟอง ในรังที่ทำในกอต้นกกหรือต้นอ้อริมลำธาร

ที่อยู่อาศัย :
นกยูงชอบอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งและป่าผลัดใบผสมตามริมลำธารในป่า

เขตแพร่กระจาย :
นกยูงมีเขตแพร่กระจายจากทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออก ผ่านพม่า ตอนใต้ของประเทศจีน ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซียและชวา

สถานภาพ:
นกยูงเคยมีชุกชุมทั่วประเทศที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตร ยกเว้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ปัจจุบันพอจะพบได้ในบริเวณทิศตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี และยังมีรายงานการพบที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย นกยูงจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1
สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์:
: การปล่อยให้มีการล่านกยูงโดยเสรีในอดีต และการที่มีผู้ที่นิยมเลี้ยงนกยูงกันเป็นจำนวนมากในระหว่างปี พ.ศ. 2510-2517 ทำให้มีการส่งออกนกยูงออกนอกราชอาณาจักร เฉพาะที่ท่าอากาศยานกรุงเทพมากถึง 626 ตัวนอกจากนี้ความนิยมในการนำขนนกยูงมาทำเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องหมายแสดงสถานภาพในกลุ่มสังคมของคนบางกลุ่มเป็นเหตุให้นกยูงถูกล่าเป็นจำนวนมากเพียงเพื่อต้องการขน ประกอบกับการทำลายป่าที่อยู่ตามริมลำธารในป่า ก่อให้เกิดความสูญเสียแหล่งหากินและทำรังวางไข่ของนกยูง ทำให้ปัจจุบันนกยูงกลายเป็นสัตว์ที่หาได้ไม่ง่ายนัก
จากหนังสือ : พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย
AngsanaUPC, BrowalliaUPC, CordiaUPC">นกยูงมีเขตแพร่กระจายจากทางเหนือของประเทศอินเดียไปทางทิศตะวันออก ผ่านพม่า ตอนใต้ของประเทศจีน ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซียและชวา

สถานภาพ:
นกยูงเคยมีชุกชุมทั่วประเทศที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตร ยกเว้นที่ราบลุ่มภาคกลาง ปัจจุบันพอจะพบได้ในบริเวณทิศตะวันตกของประเทศบริเวณจังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี และยังมีรายงานการพบที่จังหวัดชัยภูมิและจังหวัดสุราษฎร์ธานีอีกด้วย นกยูงจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 1

รายการบล็อกของฉัน