ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นกตะขาบดง-นกตะขาบทุ่ง

นกตะขาบดง (อังกฤษ: Dollar roller, Dollarbird, Oriental dollarbird; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eurystomus orientalis) นกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae)มีขนาดเล็กกว่านกตะขาบทุ่ง..
(Coracias benghalensis) ซึ่งเป็นนกตะขาบ 1 ใน 2 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทยเป็นนกที่มีลำตัวสีดำ จะงอยปากสีแดง เมื่อเพ่งในระยะใกล้จะเห็นลำตัวเป็นสีน้ำเงินเหลือบเขียวเข้ม ขณะที่บินจะปรากฏเป็นสีเงินที่บริเวณโคนปีกด้านนอก
ขณะที่ยังเป็นนักวัยอ่อนจะมีลำตัวสีหม่น
พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียด้านเอเชียตะวันออก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย (มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย-ดูในตาราง)ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคอีสาน อาศัยทั้งในป่าเบญจพรรณ, ป่าทุติยภูมิ, บริเวณชายป่าดงดิบที่เป็นพื้นที่โล่ง พบได้ตั้งแต่พื้นที่ราบจนถึงความสูงระดับ 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไทย

นกตะขาบทุ่ง หรือ นกขาบ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias benghalensis; อังกฤษ: Indian roller, Blue jay) เป็นนกประจำถิ่นที่พบในทวีปเอเชีย บริเวณตั้งแต่ประเทศอิรัก อนุทวีปอินเดีย จนถึงคาบสมุทรอินโดจีน พบได้ทั่วไปตามต้นไม้ริมทางหรือสายไฟ ทุ่งนา ป่าโปร่ง ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน นกตะขาบทุ่งเป็นนกหนึ่งในสองชนิดของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae) ที่พบในประเทศไทย ซึ่งอีกชนิดคือ นกตะขาบดง (Eurystomus orientalis) นกตะขาบทุ่งมีขนาดใกล้เคียงกับนกพิราบ อาหารคือแมลง สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือกิ้งก่าในบางครั้ง

เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ 33 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน รูปร่างไม่เพรียวลม ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำด้านยาวปานกลาง สันปากบนโค้ง จะงอยเป็นตะของุ้ม ปีกกว้างแต่ยาวและปลายปีกแหลม ปลายปีกมีขน11เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ 11 สั้นกว่าขนเส้นอื่นๆจึงเห็นได้ชัดเพียง 10 เส้น ปลายหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเว้าเล็กน้อย หลายชนิดมีหางแฉกลึก และบางชนิดมีหางแบบปลายแหมขึ้นอยู่กับชนิด ขาสั้น นิ้วเท้าสั้นและไม่แข็งแรง เล็บโค้ง นิ้วเท้าข้างละ 4 นิ้ว นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 3 เชื่อมติดกันตรงโคนนิ้ว เรียกเท้าที่มีลักษณะดังกล่าวว่า Syndactyly foot ลักษณะนิ้วมีความคล้ายคลึงกับนกกะรางหัวขวาน ในวงศ์ Upupidae ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำยาวปานกลาง
เมื่อกางปีกบิน จะมองเห็นสีปีกสีน้ำเงิน สีฟ้าจะสะท้อนแสง เหลือบพราย....ปากสีดำด้าน ม่านตาสีน้าตาลแกมเขียว ตัวผู้มีคิ้วยาวสีขาวลายดำละเอียด ตัวเมียมีคิ้วสั้นกว่าตัวผู้เล็กน้อย ขนหางสีฟ้า ปลายหางสีน้ำเงินเข้ม ขนปีกมีหลายสีเหลื่อมกัน คือ ขนคลุมหัวปีกมีสีฟ้าอมเทา ขนกลางปีกและขนปลายปีกสีน้ำเงินที่โคนขนมีสีฟ้าสด คางและใต้คอสีม่วงแดงเข้มและมีขีดสีฟ้าเด่นชัด อกและท้องตอนบนสีน้ำตาลแกมม่วง ท้องตอนล่างจนถึงขนคลุมใต้โคนหางเป็นสีฟ้าสดแกมเขียว ใต้หางสีฟ้าสดและมีแถบสีน้ำเงินตอนปลายหาง ขาและนิ้วเท้ามีสีน้ำตาลแกมเหลือง เล็บสีดำ
นกวัยอ่อนหัวจะมีสีเขียวและหลังคอจะมีสีน้ำตาลมากกว่านกโตเต็มวัย หลังคอมีสีหม่นกว่า คอสีเนื้อแกมม่วง ท้องสีฟ้าอมเขียว ขนคลุมปีกสีน้ำตาล

พฤติกรรมและการขยายพันธุ์
ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียว เหยื่อของนกตะขาบทุ่งได้แก่ ตั๊กแตน จิ้งหรีด แมลงหางหนีบ ผีเสื้อกลางคืน บุ้ง ต่อ ด้วง แมลงปอและแมงมุม และสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวเล็กๆ เช่น กิ้งก่า จิ้งเหลน คางคก งู หนู หนูผีและลูกนก นกตะขาบทุ่งนับว่าเป็นนกล่าเหยื่อที่พิเศษกว่านกล่าเหยื่ออื่นๆ เช่น นกอีเสือ นกกระเต็น หรือนกแซงแซว เพราะมันสามารถล่าเหยื่อที่นกชนิดอื่นๆไม่กล้าแตะต้องเนื่องจากมีพิษได้ อย่างเช่น ตั๊กแตนหรือผีเสื้อกลางคืนที่มีสีเตือนภัย แมงป่อง ตะขาบหรืองูพิษเป็นต้น นกตะขาบทุ่งจะล่าเหยื่อตั้งแต่ตอนเช้าจนกระทั่งพลบค่ำ หรือแม้กระทั่งในเวลากลางคืน นกตะขาบทุ่งเป็นนกที่หวงถิ่นมาก ถ้าหากมีนกตัวอื่นบุกรุกเข้ามา มันจะบินขึ้นไปบนเหนือยอดไม้ แล้วบินม้วนตัวลงมายังผู้บุกรุกอย่างรวดเร็วเพื่อขับไล่ โดยใช้เวลาราว 30 วินาที บางครั้งอาจบินผาดโผนพลิกแพลงราว 48 วินาที และจะร้องเสียงดัง "ค๊าบ แค๊บ ค๊าบ" ไปเรื่อยๆจนถึง 120 ครั้ง และเพราะเหตุที่นกตะขาบทุ่งมีความสามารถในการบินม้วนตัวกลางอากาศได้ ชาวตะวันตกจึงเรียกมันว่า "Roller" ซึ่งแปลว่า "ลูกกลิ้ง" หรือ"ผู้กลิ้งม้วนตัว"[4]นกตะขาบทุ่งผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ทำรังบนต้นไม้บริเวณโพรงไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในบางครั้งจะแย่งรัง หรือโพรงเก่าของนกอื่นเพื่อวางไข่ ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 2-5 ฟอง

แหล่งอาศัย
พบในทวีปเอเชียแถบประเทศอินเดีย จีน อินโดจีน และในประเทศไทยพบอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นทางตอนใต้ของภาคใต้ พบได้ที่ความสูงมากว่าหรือประมาณ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ในประเทศไทย พบในป่าดิบชื้น ป่าเบญจพรรณ ป่าไผ่ ป่าฟื้นตัวที่ค่อนข้างทึบ มักพบที่ความสูงต่ำกว่า 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ที่ระดับ 1,500 เมตรพบได้บ้างจนถึงหายาก พบที่เทือกเขาของภาคตะวันออก เทือกเขาที่กั้นภาคกลางตอนบนกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือด้านตะวันออก และผืนป่าตะวันตกตอนบน

การแพร่กระจาย
แพร่กระจายครอบคลุมพื้นที่ของเขตสัตว์ภูมิศาตร์ 3 เขต คือ เขตโอเรียลตัล (เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) เขตพาลีอาร์กติก (เอเชียตะวันออก) และเขตออสเตรเลเชียน (ออสเตรเลีย และหมู่เกาะใกล้เคียง)
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen

รายการบล็อกของฉัน